ปาเต็ก ฟิลิปป์: ตำนานจุดเริ่มแห่งความสำเร็จที่ยังไม่ถูกเล่าขาน | SENATUS

ASIA'S PREMIER LUXURY & LIFESTYLE MAGAZINE

SENATUS.NET

ปาเต็ก ฟิลิปป์: ตำนานจุดเริ่มแห่งความสำเร็จที่ยังไม่ถูกเล่าขาน

1 November 2017

Reading article in: English - Thai

By Christian Barker | Translated by Onnutcha Naknawaphan

ริษัทที่ชื่อว่า ปาเต็ก ฟิลิปป์ (Patek, Philippe & Cie) ได้ถูกก่อตั้งอย่างเป็นทางการที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในปี 1851 แต่ในความเป็นจริงตำนานของบริษัทนักผลิตนาฬิกาอันทรงคุณค่านี้ได้เริ่มขึ้นก่อนหน้านั้นหลายทศวรรษแล้วที่ประเทศโปแลนด์

ในปี 1812 ที่หมู่บ้านเล็กๆ ที่มีชื่อว่า พิลาสกี้ (Pilaski) อังตวน ปาเต็ก พราวด์จี (Antoni Patek Prawdzic)ได้ลืมตาดูโลก ในฐานะรองผู้พันแห่งของกองทหารม้า ปาเต็กวัย 19 ปี ได้ต่อสู้กับจักรวรรดิรัสเซียเพื่อเอกราชของโปแลนด์ หลังจากความผ่ายแพ้ของกองทัพ ปาเต็กและผู้รอดชีวิตได้ทำการลี้ภัยไปนอกประเทศ ต่อมาในปี 1832 ปาเต็กจึงได้กลายเป็นผู้ดูแลสมาคมผู้ลี้ภัยในเยอรมัน

หลังจากนั้นได้ไม่นานตัวปาเต็กพร้อมทั้งผู้อพยพจำนวนหนึ่งเดินทางต่อไปยังฝรั่งเศส เขาได้ใช้ช่วงเวลาสั้นๆช่วงหนึ่งศึกษาการเขียนรูปภาพภูมิประเทศ ก่อนที่ความสนใจในวงการการประดิษฐ์นาฬิกาของปาเต็กจะได้ถูกจุดประกายขึ้น หลังจากการค้นพบตัวเองในครั้งนั้นปาเต็กเดินทางไปยังเมืองเจนีวา ซึ่งเป็นที่ที่เขาได้ริเริ่มการยึดอำนาจของราชอาณาจักรอังกฤษในฐานะผู้นำแห่งศาสตร์การรังสรรค์เครื่องบอกเวลา 

อังตวน ปาเต็กได้ลงหลักปักฐานที่เจนีวา เขาแต่งงานกับสาวชาวสวิสคนหนึ่งและได้ตกลงเป็นหุ้นส่วนกับ ฟรานซัวร์ ซาเป็ก (Francois Czapek) ในธุรกิจการผลิตนาฬิกา ซึ่งได้กลายเป็นผู้ผลิตนาฬิกามากกว่า200เรือนต่อปีในเวลาถัดมา

ด้วยความสามารถในการขายและการตลาด ปาเต็กอุทิศเวลาส่วนใหญ่ของเขากับการหาลูกค้ากิตติมศักดิ์ให้กับ Czapek & Cie ในขณะที่ตัวซาเป็กควบคุมการผลิตเรือนบอกเวลาของทางบริษัท

อย่างไรก็ตาม การประสานงานของปาเต็กและซาเป็กนั้นไม่ได้ราบลื่นสักเท่าไหร่นัก ว่ากันว่าบ่อยครั้งที่ซาเป็กละเลยหน้าที่และหายตัวไปจากเวิร์คช้อป ด้วยเหตุนี้ ปาเต็ก (ซึ่งได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อ อังตวน นอร์เบิร์ต เดอ ปาเต็ก/Antoine Norbert de Patek เป็นที่เรียบร้อยแล้วในขณะนั้น) จึงได้เริ่มมองหาเพื่อนร่วมงานคนใหม่

ในปี 1844 ปาเต็กได้พบกับช่างทำนาฬิกามือมือฉมังชาวฝรั่งเศส ฌอง-เอเดรียน ฟิลิปป์ (Jean Adrien Philippe) ที่งาน Products of Industry Exhibition ณ กรุงปารีส ในงานนิทรรศการนั้น ฟิลิปป์ ชนะรางวัลจากนวัตกรรม ‘keyless stem-winding system’ หรือ ระบบกลไกการปรับนาฬิกาจักรกลแบบไร้กุญแจ ซึ่งแต่เดิมแล้วในการปรับนาฬิกาที่มีกลไกการไขลานอัตโนมัตินั้นจำเป็นจะต้องทำโดยใช้กุญแจในการการแกะตัวกระจก หรือด้านหลังของนาฬิกาออก วิธีการนี้ไม่เพียงส่งผลให้ตัวกุญแจหายเป็นประจำ แต่การเปิดกระจกหรือตัวเรือนของนาฬิกาออกอาจทำให้กลไกภายในต้องเจอกับฝุ่นหรือความชื้นได้ด้วย 

ผลงานการคิดค้นของฟิลิปป์ไม่ใช่แค่นำความสะดวกสบายที่เจ้าของนาฬิกาสามารถปรับเวลาได้ผ่านทางเม็ดมะยม แต่นวัตกรรมนี้ยังช่วยให้ตัวเรือนไม่จำเป็นต้องถูกเปิดออก และไม่เสี่ยงต่อความชื้นหรือฝุ่นละอองที่อาจลดประสิทธิภาพการทำงานที่ดีของนาฬิกาลง เรียกได้ว่าผลงานของฟิลิปป์คือจุดเปลี่ยนของวงการนาฬิกาไปตลอดกาล โดยที่ทุกวันนี้กลไก keyless stem-winding system ได้ถูกนำมาใช้ในนาฬิกาแทบทุกเรือนบนโลก

หลังจากนั้นได้ไม่นานซาเป็กและปาเต็กได้ปิดฉากการทำงานในฐานะหุ้นส่วนของพวกเขาลง ส่วนตัวฟิลิปป์ย้ายมาที่เจนีวา และหลังการทำงานร่วมกันภายใต้ชื่อ Patek & Cie อยู่หลายปี ผลงานของเขาที่ทำให้กับแบรนด์ก็ได้รับการยอมรับภายใต้การก่อตั้งอย่างเป็นทางการของ  Patek, Philippe & Cie ในปี 1851 

ในการสายตาของฟิลิปป์การเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเร็วเท่าที่ควร เขากล่าวว่าตัวคู่หูของเขานั้นยินยอม “อย่างไม่เต็มอกเต็มใจเท่าไหร่” กับการที่จะมีชื่อฟิลิปป์จะอยู่ในชื่อของบริษัทที่เขาแต่งตั้งขึ้น และชื่อของแบรนด์ยังคงไว้เป็น Patek & Compagnie อยู่นาน หลังจากการพูดคุยกันในประเด็นนี้ระหว่างฟิลิปป์และปาเต็ก

การเว้นวรรคตอนของชื่อบริษัทเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นที่ถกเถียงกัน “ตอนที่เราตัดสินใจจะเปลี่ยนป้ายใหม่ให้กับบริษัท ตัวเครื่องหมายจุลภาค (,) ระหว่างชื่อทั้งสองชื่อถูกนำออกเพราะที่ไม่พอ ถึงแม้ว่าผมจะกำชับให้ใส่เอาไว้ก็ตาม จากนั้นเอกสารเชิงพาณิชย์ทั้งหมดก็ถูกพิมพ์โดยใช้การเรียงชื่อในรูปแบบนี้ จนมันกลายเป็นเครื่องหมายการค้าไป แถมความพยายามของผมในการใส่ตัวจุลภาคลงไปในลายสลักบนตัวขอบนาฬิกาเองก็ไม่สำเร็จ ซึ่งมันสำคัญมากเลยนะเนืองจากชื่อของผมอาจถูกเข้าใจผิดว่าเป็นชื่อต้นก็ได้” ฟิลิปป์กล่าว

ในฐานะผู้ที่อยู่เบื้องหลังงานประดิษฐ์และนวัตกรรมต่างๆของบริษัท ฟิลิปป์ไม่ค่อยพอใจเท่าไหร่กับการที่ชื่อคู่หูของเขาได้อยู่ลำดับที่เหนือกว่าในการเผยแพร่ และการที่ปาเต็กมีความสุขกับแบรนด์ในฐานะ‘บริษัทของเขา’ ฟิลิปป์กล่าวไว้ด้วยความรำคราญใจว่า “ปาเต็กนำเสนอตัวเองในฐานะอัจฉริยะแห่งศาสตร์การประดิษฐ์เครื่องบอกเวลา ทั้งๆที่ไม่เคยแม้กระทั่งหยิบจับเครื่องมือด้วยตัวเอง เขาพยายามที่จะโน้มน้าวทุกคนว่าเขาอยู่เบื้องหลังทุกนวัตกรรมและงานประดิษฐ์ของบริษัทเรา บางครั้งผมอดไม่ได้ที่จะรู้สึกรำคาญใจกับเรื่องนี้และได้บอกให้เขารู้ แต่แทบทุกครั้งเขาจะทำเป็นทีเล่นทีจริง และอ้างว่าสิ่งที่เขาแสดงออกไปนั้นล้วนทำเพื่อตัวบริษัทเท่านั้นเอง”

อย่างไรก็ตาม เหมือนกับจอบส์และวอซเนียกแห่ง Apple คู่หูนักการตลาดมือทองอย่างปาเต็กและ วิศวกรนักคิดค้นอย่างฟิลิปป์เมื่อร่วมมือกันก็ย่อมเป็นทีมที่ทรงพลัง

ความสามารถทางการค้าของปาเต็กได้มีบทบาทอย่างชัดเจนในตอนที่ปาเต็ก ฟิลิปป์ (Patek Philippe) ได้ไปแสดงผลงานของตนในฐานะบริษัทใหม่ที่งาน Great Exhibition of the Works of All Nations ณ กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ ในงานนิทรรศการครั้งนั้น ท่ามกลางนวัตกรรมหลากหลายจากทั่วทุกมุมโลก ปาเต็ก ฟิลิปป์ได้ขโมยเป้าความสนใจไปด้วยงานประดิษฐ์เรือนนาฬิกาที่มีกลไลการปรับเวลาด้วยเม็ดมะยมในกรอบที่ถูกแกะสลักอย่างงดงาม ผลงานชิ้นนั้นได้ถูกพูดถึงจากผู้นำเที่ยวภายในงานว่าเป็น “หนึ่งในผลงานทางนวัตกรรมและเครื่องประดับที่ควรค่าแก่การถูกเก็บสะสม” ผลงานที่จัดแสดงในครั้งนั้นประกอบไปด้วย นาฬิกามินิท รีพีทเตอร์ (minute repeaters) นาฬิกาสำหรับคนตาบอด นาฬิกาที่มีฟังก์ชั่นการบอกวัน แว่นตาสายลับ ช่องเก็บของลับ และนาฬิกาที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกด้วยขนาด 3 ใน 10 ของ1นิ้ว 

ในฐานะหนึ่งในผู้เข้าร่วมชมงาน สมเด็จพระราชินีวิคตอเรียและเจ้าชายอัลเฟรดพระคู่หมั้นของพระนาง ทรงประทับใจในตัวปาเต็กและผลงานการประดิษฐ์ของฟิลิปป์เป็นอย่างมาก ทั้งสองพระองค์ได้ทรงซื้อนาฬิกาจากปาเต็ก ฟิลิปป์คนละเรือน ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการโฆษณาที่ไม่สามารถประเมินค่าได้

หลังจากนั้น ราชวงศ์และชนชั้นสูงจำนวนนับไม่ถ้วนก็ได้ตามกระแสราชวงศ์อังกฤษในการเป็นเจ้าของเรือนบอกเวลาของปาเต็ก ฟิลิปป์ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของยุโรปช่วงเวลานั้นกำลงอยู่ในช่วงขาลง ซึ่งส่งผลให้ปาเต็ก ฟิลิปป์ต้องหาลูกค้ากลุ่มใหม่ในตลาดอเมริกาที่กำลังเติบโต 

บริษัทเครื่องเพชรทิฟฟานี แอนด์ โค (Tiffany & Co) แห่งนิวยอร์กที่ถูกก่อตั้งในปี1837 ได้กลายเป็นผู้จำหน่ายรายใหญ่ของปาเต็ก ฟิลิปป์ โดยที่ทางทิฟฟานีได้สั่งนาฬิกาจำนวน 150 เรือนจากปาเต็กในครั้งแรกที่เขาไปเยือนสหัฐอเมริกา 

การตีตลาดสหรัฐอเมริกาคือเครื่องพิสูจน์ว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องของปาเต็ก ฟิลิปป์ โดยที่ชาวอเมริกันได้กลายเป็นเจ้าของเปอร์เซ็นส่วนใหญ่ในยอดขายของปาเต็กในยุคต้นศตวรรษที่ 20 ในตอนนั้นสหัฐอเมริกา ได้กลายเป็นประเทศชาติที่ร่ำรวยที่สุดในโลกด้วยอำนาจทางการเงินที่อยู่ในมือของนักธุรกิจร้อยล้านและลูกค้าของปาเต็ก ฟิลิปป์หลายคน เช่น คอร์เนเลียส แวนเดอร์บิลท์ (Cornelius Vanderbilt) เฮนรี่ เคย์ ฟริก(Henry Clay Frick), และ เจมส์ วาร์ด แพ็กการ์ด(James Ward Packard)

โดยเฉพาะเจมส์ วาร์ด แพ็กการ์ด ผู้คิดค้นพวงมาลัยรถยนต์ และผู้ก่อตั้งบริษัท Packard Motor Car เขาเป็นนักสะสมตัวจริงของปาเต็ก ฟิลิปป์ไม่แพ้นักธุรกิจยักษ์ใหญ่แห่ง Wall Street อย่าง เฮนรี่ เกรฟฟ์ จูเนียร์ (Henry Graves Jr.)

นาฬิกาสองเรือนที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในเรือนบอกเวลาที่ทรงคุณค่าที่สุดเป็นผลงานการสั่งทำของนักธุรกิจร้อยล้านสองคนที่กล่าวมา นาฬิกาเรีอนแรก Packard’s Movement No. 198 023 ถูกผลิตและส่งถึงมือแพ็กการ์ดในปี 1927 โดยที่ตัวนาฬิกานั้นประกอบไปตัวฟังก์ชั่นการบอกเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกดิน สมการของเวลา นาฬิกาปฏิทิน มินิท รีพีทเตอร์ การบอกเวลาข้างขึ้นข้างแรม และ แผนที่ดวงดาวของท้องฟ้าเหนือบ้านของแพ็กการ์ดที่โอไฮโอ

แต่หลังจากนั้นได้ไม่นาน Packard’s Movement No. 198 023 ก็ถูกก้าวข้ามไปโดยGraves Supercomplication นาฬิกาแบบพกพาที่ถูกสั่งทำขึ้นโดยเฮนรี่ เกรฟฟ์ จูเนียร์ด้วยคำสั่งสั้นๆ เรียบๆ “สร้างนาฬิกาที่มีฟังก์ชั่นความซับซ้อนมากที่สุดเท่าที่เคยสร้างมาให้กับผม”  Graves Supercomplication จึงต้องใช้เวลากว่า 7 ปีเต็มในการสร้างขึ้นมา โดยที่ตัวฟังก์ชั่นความซับซ้อนของมันประกอบไปด้วยเสียงระฆังเวสต์มินสเตอร์ (Westminster chimes) นาฬิกาปฏิทิน การบอกเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกดิน และแผนที่ดวงดาวของท้องฟ้านิวยอร์กที่มองเห็นจากวิวอพาร์ทเม้นของเกรฟฟ์ที่ Fifth Avenue ในเวลาต่อมา Graves Supercomplication ได้กลายเป็นเรือนบอกเวลาที่มีมูลค่าสูงที่สุดที่เคยถูกขาย เมื่อมันถูกประมูลไปด้วยราคา 24 ล้านเหรียญในปี 2014

พูดได้ว่าปาเต็ก ฟิลิปป์ต้องขอบคุณลูกค้าชาวอเมริกันสำหรับความสำเร็จของพวกเขา โดยที่ในบันทึกปี 1925 ของปาเต็ก ฟิลิปป์มีการกล่าวไว้ว่าอเมริกาทางเหนือนั้นเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีคุณค่าสูงสุดของพวกเขา แต่เมื่อตลาดหลักทรัพย์วอลล์สตรีทตกลงอย่างเฉียบพลันในปี 1929 บริษัทปาเต็ก ฟิลิปป์ก็ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ในการประชุมระหว่างบอร์ดปีนั้นของปาเต็ก ฟิลิปป์ มีการรายงานว่า “บริษัทนั้นแทบจะหยุดชะงักจากการที่ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กตกลงไปในช่วงเดือนตุลาคม”

ด้วยภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งยิ่งใหญ่ (The Great Depression) ความต้องการในการซื้อนาฬิกาหรูจึงดิ่งลง และปาเต็ก ฟิลิปป์ต้องเผชิญหน้ากับหายนะทางการเงิน 

นับว่ายังเป็นโชคของปาเต็ก ฟิลิปป์ เมื่อ สเติร์น เฟรเรส (Stern Freres) ซึ่งเป็นผู้จัดหาวัสดุอุปกรณ์ให้กับทางบริษัทมาอย่างยาวนานได้ก่อตั้งสมาคมขึ้นมาเพื่อซื้อและนำบริษัทกลับเข้าสู่ตลาดอีกครั้ง ครอบครัวสเติร์นผู้ซึ่งยังคงเป็นผู้บริหารของบริษัทจนถึงทุกวันนี้ได้พาปาเต็ก ฟิลิปป์มาถึงจุดสูงที่ทั้งตัวอังตวน นอร์เบิร์ต เดอ ปาเต็ก และ ฌอง-เอเดรียน ฟิลิปป์ เคยได้แต่เพียงฝันไว้เท่านั้น

และนั่นเป็นอีกเรื่องราวหนึ่งที่ยิ่งใหญ่ในตัวมันเอง... ปาเต็ก ฟิลิปป์ในยุคปัจุบัน: การขึ้นเป็นที่หนึ่งในอาณาจักรนักผลิตนาฬิกา 


ข้อมูลในบทความนี้ถูกนำมาจาก 'Patek Philippe: The Authorized Biography' by Nicholas Foulkes.

Watches & Jewelry

Patek Philippe #Cubitus - square-shaped model joins as whole new offering

Watches & Jewelry

Patek Philippe introduces all new #Cubitus sports watch collection - platinum version with date, day and moon phase display

All Rights Reserved. SENATUS © 2025
 

SENATUS is a registered trademark of SENATUS PTE LTD. The material on this site may not be reproduced, distributed, transmitted, cached or used otherwise, except as expressly permitted in writing by SENATUS.